วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Introduction


โอ้ว! แม่จ้าว ไม่ทันไรมีผู้ติดตามบทความชั้นแล้ว 1 คน 555 มารับรางวัลหลังไมค์ครับ

เอาล่ะครับ วันนี้ไปที่ คริสตจักรที่1เชียงใหม่มา สอบถามเพื่อนๆน้องๆว่าอยากรู้อะไรบ้าง
ก็ยังมิเห็นผู้ใดตอบมาซักคน งั้นเริ่ม บทความแรกแบบเบสิกๆ เรื่องของการถ่ายภาพกันก่อนดีกว่าเพื่อหลายๆคนจะได้มีพื้นฐาน และสำหรับผมคิดว่า มันจะช่วยให้เราเข้าใจระบบของการบันทึกภาพหรือการถ่ายภาพได้ดีขึ้น ...ระดับหนึ่ง..มั้ง....

เอาน่าๆอย่าเครียดมาก สอนกันง่ายๆเข้าใจง่ายๆน่ะดีแล้วไม่ได้จะเอาไปทำเป็นรายงานส่งที่ไหนนิ.

คำว่า Photography เนี้ย มันมีที่มาที่ไปครับ คือตั้งแต่สมัยปฐมการที่พระเจ้าได้ทรงสร้างโลก..โว๊ยยจะนานไปไหนเนี้ย! เอาจริงๆล่ะ มันมาจากภาษากรีกสองคำคือคำว่า Photo หรือ Photos นี่แหละที่แปลว่าแสงอีกคำคือคำว่า Graphein แปลว่า การวาดภาพ พอประกอบกันก็จะได้คำว่า..การวาดภาพด้วยแสงนั่นเอง

โอ้ว เนียนมาก ดูมีความรู้ๆ แต่ซึ่งจริงๆแล้วการถ่ายภาพเนี้ยะมันไม่ใช่ว่าเราถ่ายภาพจากกล้องในปัจจุบันหรือแบบสมัยที่ใส่ฟิล์มกันเลยน๊ะ

มันเริ่มจากความบังเอิญ! จริงจริ๊ง อ่ะไม่เชื่อ ไอ้เจ้ากล้องถ่ายรูปเนี้ยเมื่อก่อนน่ะศิลปินเค้าจะวาดภาพน่ะเค้าจะใช่สิ่งที่เรียกว่า กล่องรูเข็ม อ่ะๆ เริ่มคุ้นๆ คือ มีกล่องมืดๆกล่องนึงแล้วก็มีรูๆนึงไว้ด้านบนหรือด้านข้าง ถ้าเค้าจะใช้งานก็เอากล่องครอบกับเฟรมที่จะวาดภาพเอากล่องส่องไปทางแบบ
ทันใดนั้นเอง....ภาพที่ต้องการจะวาดก็จะปรากฏบนเฟรมภาพในลักษณะหัวกลับแล้วศิลปินก็จะวาดภาพตามนั้น
อุ๊ย คุ้นๆ เหมือนสมัยเรียนตอน ม.4 ม.5 เลยน๊ะยาย 55


อันนี้ก็คือตัวอย่างกล่องเขียนภาพในสมัยนั้นน๊ะเรียกว่าCamera Obscuraใหญ่ดีเน๊อะ



เค้าก็ใช้กันมาเรื่อยๆแหละ แต่มันก็เกิดเหตุการที่เหนือการคาดหมาย เป็นเหตุบังเอิญที่สุดจะบรรยายนั่นคือ (อันนี้ออกตัวก่อนน๊ะว่าไม่ค่อยชัวร์จริงๆเพราะที่เรียนมากับนั่งหาข้อมูลในNETมันต่างกันดีเหลือเกิน)

คือตอนฤดูร้อน ปี 1827 เจ้า Joseph Nicephore เนี้ยเค้าวาดภาพโดยใช้เจ้ากล่องนี้แหละแต่คงมีขนาดที่เล็กกว่านี้หน่อยนึงอ่ะน๊ะ วาดภาพโดยใช้แผ่นเพลตที่ขัดมันไปรองวาด แต่บังเอิญเค้าทำสารเคมีตัวนึงหกรดเพลตของตัวเอง เค้าคงคิดว่า

"ซวยแหล่วตรู...ทำไงดีฟร๊ะ ของก็ใหม่ขัดมันซะอย่างดี ดันมาเปียกน้ำยาอะไรเข้าเนี้ย...ไม่ได้การ ถ้าอีแก่แม่บ้านเรารู้มีหวัง...ลำพังศิลปินก็ใส้แห้งอยู่แล้ว ถ้าเกิดหัวแบะอีกคงดูไม่งามเท่าไหร่ ทำไงดีๆๆๆ เออ! นึกออกแล้ว เอาไปซ่อนไว้ก่อนช่วงนี้ก็ไม่ค่อยมีงานเงินผ่อนบ้านก็ไม่ค่อยมี..เอ๊ะคุ้นๆ..ตรงไหนดีๆ เออ ตรงพวกถังๆเก็บสารเคมีนี่แหละ อีแก่มันห่วงสวยคงไม่กล้าเข้ามาค้นแน่ๆ"


เค้าเลยเก็บเพลตที่เปียกสารเคมีไว้ตรงนั้น พอเวลาผ่านไป เค้าก็ไปเอาเพลตชิ้นนั้นมาใช้อีก ปรากฏว่าเฮ้ย! ทำไมมันถึงมีภาพเกิดขึ้นได้เนี้ย เอ้า! งงสิงง เค้าจึงละทึกได้ว่า อ้อ เจ้าสารที่มันหกรดเพลตของเรามันก็คือ bitumen หรือพวกน้ำมันดิบ

แล้วเจ้าพวกสารเคมี ที่มันอบรูปจนเกิดภาพก็คือ พวกน้ำมันของลาเวนเดอแล้วก็พวกปิโตเลี่ยมนั่นเองงง (แล้วมันทำปฎิกิริยากันยังไงว๊ะเนี๊ยะ)

เอาเป็นว่ามันเป็นภาพ positive แบบแรกของโลกเลยน้า (สมัยนั้นเค้าทำภาพกันได้แล้วน่ะครับแต่เป็นภาพแบบnegative คือภาพที่สลับขาวกับดำ แบบที่เราเคยเห็นกันในฟิล์มนั่นแหละครับ แต่ไม่ค่อยมีความคงทนนัก)

แบบนี้แหละครับภาพถ่าย positive แบบแรกๆของโลกล่ะ



โอยทั้งเหนื่อยทั้งมันส์ เหมือนเรียนประวัติศาสตร์ศิลป์เรยอ่า...แต่หลังจากนั้นก็มีคนพัฒนาเทคนิคและวิธีการตลอดจนวัสดุ เคมี อุปกรณ์ขึ้นมาอีกเย๊อะเลยน๊ะครับ จนทำให้เราสามารถถ่ายภาพได้ง่ายดายสะดวกและ สวยงาม..? เช่นทุกวันนี้

เอาเป็นว่าถ้าทุกคนสนใจประวัติศาสตร์การถ่ายภาพก็เข้าไปศึกษาได้น๊ะตามเวปต่างๆ หรือ google ง่ายสุด 55 แต่เอาลิงค์ที่ดีๆมาแปะให้ไปศึกษากันเองแล้วกัน รับรองสนุกครับ.




อันแรกเป็นประวัติย่อๆพอให้รู้อะไรเป็นอะไร อันนี้เลยครับ
http://papui.spaces.live.com/Blog/cns!8727551BA149B862!302.entry

ส่วนอันนี้ไม่รู้ว่าเค้าทำวิทยานิพนธ์หรือเปล่าหรือคุณตาชอบกินฟิล์มไม่รู้ เนื้อหาดีมากเลยครับ
http://inventors.about.com/od/pstartinventions/a/stilphotography.htm




ไว้เจอกันใหม่น๊ะครับ จะเป็นเรื่องอะไร แล้วแต่โหวตเข้ามา ถ้าไม่มีก็ ฟังเรื่องไรสาระแบบนี้ไปเรื่อยๆ 555







2 ความคิดเห็น: